[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
สถาบัน กศน. ภาคตะวันออก
[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.9
   
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   

  

งานวิจัยการศึกษา
    เรื่อง : การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ

เจ้าของผลงาน : นางอริสา ประกอบดี
อังคาร ที่ 15 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2565
เข้าชม : 460    จำนวนการดาวน์โหลด : 7 ครั้ง
5 stars เฉลี่ย : 5 จาก 217 ครั้ง.

บทคัดย่อ :

       การศึกษาครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ และเพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาสมรรถนะ ข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา 1) กลุ่มตัวอย่างสำหรับตอบแบบสอบถาม ได้แก่ ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอนและตาก จำนวน 291 คน จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ของขนาดประขากรโดยรวมทุกจังหวัด ตามตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน (Krejcie and Morgan) และได้ทำการสุ่มตัวอย่างโดยคิดร้อยละตามสัดส่วนของประชากรแต่ละจังหวัด 2) กลุ่มตัวอย่างสำหรับการสนทนากลุ่ม (focus group) ได้แก่ ครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ 9 จังหวัด จำนวน 12 คน โดยผู้ศึกษาทำการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสนทนากลุ่ม (focus group) วิเคราะห์เนื้อหาโดยการรวบรวมข้อมูลดำเนินการจัดกลุ่มข้อมูลตามวัตถุประสงค์ ผลการศึกษาพบว่า
       1. สมรรถนะการปฏิบัติงานของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ ตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดและรองลงมา คือ ด้านการทำงานเป็นทีม ด้านการบริการที่ดี ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน ด้านการบริหารจัดการศูนย์การเรียน ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ และการมุ่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
       2. วิธีการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ พบว่า ครู ศศช. มีความต้องการพัฒนาด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น การประชุม สัมมนา การพัฒนาด้วยตนเองและการศึกษาดูงานจากการศึกษาครั้งนี้มีข้อค้นพบเพื่อเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการ
ปฏิบัติงานของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ ดังนี้

       1. ควรพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงาน เป็นลำดับแรก รองลงมา คือ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาตนเอง ด้านการบริหารจัดการศูนย์การเรียน ด้านการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน ด้านการบริการที่ดี และด้านการทำงานเป็นทีมตามลำดับ โดยอาจพิจารณาหัวข้อเรื่องที่จะพัฒนาจากข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดในแต่ละด้านมาพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ
       2. ควรพัฒนาสมรรถนะครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ ด้วยวิธีการที่หลากหลายเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ สอดคล้องกับความต้องการและขึ้นอยู่กับเรื่อง/หลักสูตรที่ดำเนินการพัฒนา โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาในลักษณะการจัดอบรมแบบ On site เป็นหลัก




งานวิจัยการศึกษา 5 อันดับล่าสุด

      แนวทางการบริหารงานศูนย์ฝึกและพัฒนาอาชีพราษฎรไทยบริเวณ ชายแดนเชียงราย เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้วิถีเกษตรธรรมชาติชุมชน 22/ก.พ./2566
      การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของครูศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ในเขตภาคเหนือ 15/พ.ย./2565
      การวิจัยเชิงประเมินโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อสร้างแอปพลิเคชันจัดเก็บข้อมูล การศึกษาขั้นพื้นฐานของสถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษา ตามอัธยาศัยภาคตะวันออก 26/ต.ค./2565
      รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามศาสตร์พระราชาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทางด้านการศึกษา ด้วย 6 P MODEL ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองม่วง สังกัดสำนักส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการ 15/ก.ย./2565
      การประเมินโครงการพัฒนาสถานศึกษาพอเพียงสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอหนองม่วง สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดลพบุรี 5/พ.ค./2565